ด้วยคนเราขณะนี้อยู่ในยุคของการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นกระแสโลกาภิวัฒน์ การหลั่งไหลของข้อมูลข่าวสาร การค้นพบและครอบงำของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตลอดจนความขัดแย้งของความเจริญอันหลากหลาย การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทำให้เกิดวิธีการเรียนรู้และการคิดรูปแบบใหม่ ทั้งในสถาบันการศึกษา และสถานประกอบการความสำเร็จในหน้าที่การงานหรือการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพนั้น ขึ้นอยู่กับศักยภาพ ของคน
Dr. Howard Gardner ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาความสัมพันธ์ของสมองกับการคิดและการเรียนรู้ และเจ้าของทฤษฎี Multiple Intelligence หรือ พหุปัญญา ได้นำเสนอกรอบความคิดเกี่ยวกับศักยภาพของคนที่จะประสบความสำเร็จ และสามารถจัดการกับตนเองและผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพในโลกที่เต็มไปด้วยข้อมูล การแข่งขัน และความท้าทายสูงในอนาคต
Dr. Gardner ได้ให้มุมมองว่า การเสริมสร้างศักยภาพ ดังกล่าวนั้น เด็กต้องได้รับการส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาทักษะที่สำคัญตั้งแต่วันนี้ เพื่อจะได้เติบโตแล้วก้าวสู่อนาคตได้อย่างมั่นคง Dr. Gardner เชื่อว่า 5 Minds หรือ จิต 5 ประการ มีความสำคัญอย่างมากต่อความสำเร็จในการทำงานและการดำรงชีวิตในอนาคตดังนี้คือ
คือ จิตที่ตั้งมั่นที่จะเรียนรู้ และฝึกฝนทักษะให้เชี่ยวชาญ และชำนาญจริง รู้จริง รู้ลึก เข้าใจถ่องแท้ในหลาย ๆ ด้าน จิตนี้มีความสำคัญ ด้วยหากบุคคลปราศจากความเชี่ยวชาญในทางใดทางหนึ่งแล้ว ก็เสมือนว่าถูกกำหนดให้อยู่ในการควบคุมของคนอื่น คนที่ขาดความชำนาญการจะไม่สามารถประสบความสำเร็จในงานที่ต้องการได้ และถูกจำกัดอยู่ในงานที่ต่ำต้อย คำว่า Discipline มีความหมายหลายอย่างด้วยกัน แต่ในมุมมอง ของ Howard Gardner ได้ให้ความสำคัญกับสองความหมาย นั่นก็คือ สาขาวิชาและการมีวินัย
ต่อไปในอนาคต การรู้เพียงสาขาวิชาเดียวไม่เพียงพอ แต่ควรหลอมรวมวิชาสำคัญเข้าด้วยกัน เมื่อต้องการจะรู้เกี่ยวกับอะไรก็ตามอย่างลุ่มลึก จะรู้แต่ในด้านวิชาการด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้นไม่เพียงพอ แต่ต้องสามารถรู้ในด้านวิชาหลาย ๆ วิชาหลอมรวมกันไป เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ศิลปหัตถกรรม นอกจากนี้ การทำงานอย่างสม่ำเสมอวันแล้ววันเล่าเพื่อพัฒนาทักษะและความเข้าใจ ซึ่งก็คือ ความมีวินัยอย่างสูง มีความสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนา Disciplined Mind
คนที่จะสามารถเป็นผู้เชี่ยวชาญ ชำนาญการ ได้ย่อมต้องมีคุณลักษณะคือ รักการเรียนรู้ เรียนรู้เรื่องหนึ่งเรื่องใดได้อย่างลึกซึ้ง มีวินัยในตนเอง รู้วิธีการเรียนรู้ การหาข้อมูลในหลาย ๆ ด้านหลายมุมมอง มีความมั่นใจ มุ่งมั่น รักที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต อดทนและฝึกฝนหาความรู้ความเข้าใจจนชำนาญและเชี่ยวชาญได้ นอกจากนั้น เมื่อสามารถหาข้อมูลได้ ก็ต้องรู้จักที่จะเชื่อมโยงความรู้เดิม กับ ความรู้ใหม่ เชื่อมโยงข้อมูลกับปัญหาปรากฏการณ์ ชีวิตประจำวัน ฯลฯ สามารถแยกแยะวิเคราะห์ และแก้ปัญหาได้ ทั้งนี้เพราะข้อมูลที่ได้มามากมายนั้น อาจจะถูกเพียงบางข้อมูล ใช้ได้จริงเพียงบางส่วน มีคุณภาพแค่บางผลงาน เป็นต้น
เมื่อมีความสามารถที่จะหาข้อมูลจากหลาย ๆ แหล่งแล้ว ก็จะต้องสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาทำความเข้าใจ และประเมินข้อมูลโดยปราศจากอคติ และผสมผสานให้กลายเป็นข้อมูลใหม่ที่มีความหมายต่อตัวผู้สังเคราะห์และผู้คนอื่น ๆ
จิตสังเคราะห์นี้ ประกอบด้วยทักษะสองส่วนสำคัญ คือ ทักษะการตัดสินใจกล่าวคือ ตัดสินใจว่าจะละทิ้ง ไม่ต้องสนใจข้อมูล หรือจะมุ่งสนใจข้อมูลใด และอะไรที่สำคัญในข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งหมายถึงการมีทักษะการคิดที่ดี และสามารถประเมินค่าได้ ทักษะนี้จะช่วยให้ไม่ถูกจมปลักกับข้อมูลที่ไม่มีคุณค่าและเลือกสนใจข้อมูลที่เป็นจริง มีเหตุมีผล และเป็นประโยชน์เท่านั้น ส่วนอีกทักษะหนึ่งก็คือ ทักษะการหลอมรวมเข้าด้วยกันในวิถีทางที่มีความหมาย มีประโยชน์ต่อตนเอง และผู้อื่น
จิตสังเคราะห์มีหลายประเภท เช่น เรียงความ (narrative) การแบ่งหมวดหมู่ (taxonomies) แนวคิดซับซ้อน (complex concepts) ข้อปฏิบัติและสุภาษิต (rules and aphorism) การอุปมาการใช้ภาพและหัวข้อเรื่องที่มีพลัง (powerful metaphors, images and themes) การแสดงออกเป็นรูปธรรมโดยไม่ต้องใช้คำอธิบาย (embodiments without words) ทฤษฎี (theories) อภิทฤษฎี (metatheory) เป็นต้น
คนที่ขาดความสามารถในการสังเคราะห์จะถูกโถมทับด้วยข้อมูล และไม่สามารถตัดสินใจได้อย่างรอบคอบ
เป็นการผลิตความคิดใหม่ ๆ พร้อมทั้งตั้งคำถามที่แตกต่างไปจากเดิม และกำเนิดเป็นวิธีการคิดที่สดใหม่ ซึ่งก็อาจจะกลายเป็นคำตอบที่คาดไม่ถึง ความคิดสร้างสรรค์ สัมพันธ์กับทุกศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นบัญชี วิศวกร กฎหมาย แพทย์ หรือครู จะเห็นได้เมื่อมีการคิดวิธีใหม่ๆ ทางบัญชี การสร้างสะพาน การผ่าตัด การฟ้องร้องคดีความ หรือ การกำเนิดพลังงานมากมายหลากหลาย ย่อมหมายถึงการคิดสร้างสรรค์ทั้งสิ้น
ความคิดสร้างสรรค์ เป็นการคิดเพื่อสร้างสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาโดยอาศัยการหยั่งเห็นเป็นสำคัญ หรือเป็นการค้นหา ความสัมพันธ์ใหม่ ๆ ระหว่างสิ่งต่าง ๆ ทำให้สามารถแก้ปัญหา คิดประดิษฐ์เครื่องมือ หรือคิดหาวิธีการใหม่ ๆ มาแก้ไขปัญหา
คนแต่ละวัยต้องการแรงผลักดันเพียงเล็กน้อยเท่านั้นในการทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ เด็กวัยก่อนเรียน จะถูกกระตุ้นตามธรรมชาติด้วยปรากฏการณ์ ประสบการณ์หัวข้อและคำถาม โดยไม่ต้องกระตุ้นหรือล่อใจด้วยรางวัลใด ๆ ถึงแม้ผู้ใหญ่จะไม่ได้ช่วยกระตุ้นด้วยการพาไปหาประสบการณ์ตรงอื่น ๆ เช่น พาไปงานนิทรรศการ งานออกร้านพิพิธภัณฑ์ หรือสวนสนุก แต่ความขี้เล่น อยากรู้อยากเห็น และพลังแห่งจินตนาการก็ยังคง
เด่นชัด จึงกล่าวได้ว่า จิตของเด็กวัยอนุบาลนี้ เปี่ยมไปด้วยพลังของความคิดสร้างสรรค์และสิ่งที่ท้าทายผู้ใหญ่และผู้สอน ก็คือ การรักษาจิตและความรู้สึกของเด็ก ๆ เหล่านี้ ไม่ปิดกั้นการขยายของความคิดสร้างสรรค์ และเปิดโอกาสให้ได้สร้างสรรค์มากที่สุด The Creating Mind ต้องได้รับการบ่มเพาะด้วยสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้คือสำหรับเด็กวัยอนุบาล : สิ่งสำคัญในวัยนี้ คือ การส่งเสริม และไม่สกัดกั้นความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก หลักสูตรการเรียนการสอนค่อนข้างเปิดกว้างสำหรับศิลปะทางเลือกต่าง ๆ รวมทั้งการตั้งคำถามปลายเปิด และการยอมรับคำตอบที่หลากหลาย หรือแปลกใหม่สำหรับคำถามเหล่านั้น
การปลดปล่อยทางความคิดสร้างสรรค์สามารถทำได้โดยการส่งเสริมให้แสดงออกถึงความแตกต่าง รวมถึงการนำเสนอทางออกที่หลากหลายสำหรับปัญหาแต่ ละปัญหาอีกทั้งการให้โอกาสเด็ก ๆ ได้พบกับบุคคลที่สร้างสรรค์ และน่าสนใจ (ซึ่งมีทั้งความรู้ในสาขาวิชา และประสบการณ์ของความสร้างสรรค์) รวมถึงการแนะนำงานอดิเรกใหม่ ๆ ที่จะได้ใช้ความคิดอื่นนอกเหนือจากความคิดทางวิชาการ ก็อาจจะทำให้เกิดนวัตกรรมและสามารถมองข้อผิดพลาดต่าง ๆ ไปในเชิงสร้างสรรค์
ดังนั้น เด็กปฐมวัยต้องได้รับโอกาสและเวลาให้ได้เล่นเสรี มีอุปกรณ์ปลายเปิดต่าง ๆ ให้เด็ก ๆ ได้เลือกใช้ เลือกเล่น เลือกประดิษฐ์ เด็กจะต้องได้รับการสนับสนุนให้สำรวจ สังเกต และสร้างสรรค์ผลงานตามความคิดของเด็กเอง เด็กต้องได้รับการสนับสนุนให้มีความมั่นใจในตนเอง ปราศจากความกลัวผิดกลัวไม่เหมือนที่ผู้ใหญ่คาดคิด มิฉะนั้นจะทำให้ความคิดสร้างสรรค์ถูกสกัดกั้น ยกตัวอย่างเช่น การวาดภาพทำศิลปะ ผู้ใหญ่มักหวังดี สอนให้เด็ก ๆ วาดรูป สอนให้เด็กประดิษฐ์ตามแบบของผู้ใหญ่ แต่นั่นกลายเป็นการสกัดกั้นความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก ดังนั้นผู้ใหญ่ควรหันมาส่งเสริมด้วยการให้โอกาสเวลาเด็กสำรวจ สังเกต สิ่งต่าง ๆ รอบตัวตามที่เด็ก ๆ สนใจอย่างใกล้ชิด ให้โอกาสและเวลาเด็กสร้างสรรค์ผลงานตามความคิด ความต้องการของเด็กเอง ยอมรับความคิดและผลงานของเด็กเสมอ รวมทั้งทำให้เด็กได้รู้ว่า ผลงานของเด็ก ๆ นั้นมีคุณค่าได้รับการดูแล ทะนุถนอม ผลงานของเด็ก ๆ ได้รับการจัดแสดงตามความต้องการของเด็กไม่ใช่ตามความต้องการของครูหรือผู้ปกครองเท่านั้น
ดังนั้น เด็กปฐมวัยต้องได้รับโอกาสและเวลาให้ได้เล่นเสรี มีอุปกรณ์ปลายเปิดต่าง ๆ ให้เด็ก ๆ ได้เลือกใช้ เลือกเล่น เลือกประดิษฐ์ เด็กจะต้องได้รับการสนับสนุนให้สำรวจ สังเกต และสร้างสรรค์ผลงานตามความคิดของเด็กเอง เด็กต้องได้รับการสนับสนุนให้มีความมั่นใจในตนเอง ปราศจากความกลัวผิดกลัวไม่เหมือนที่ผู้ใหญ่คาดคิด มิฉะนั้นจะทำให้ความคิดสร้างสรรค์ถูกสกัดกั้น ยกตัวอย่างเช่น การวาดภาพทำศิลปะ ผู้ใหญ่มักหวังดี สอนให้เด็ก ๆ วาดรูป สอนให้เด็กประดิษฐ์ตามแบบของผู้ใหญ่ แต่นั่นกลายเป็นการสกัดกั้นความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก ดังนั้นผู้ใหญ่ควรหันมาส่งเสริมด้วยการให้โอกาสเวลาเด็กสำรวจ สังเกต สิ่งต่าง ๆ รอบตัวตามที่เด็ก ๆ สนใจอย่างใกล้ชิด ให้โอกาสและเวลาเด็กสร้างสรรค์ผลงานตามความคิด ความต้องการของเด็กเอง ยอมรับความคิดและผลงานของเด็กเสมอ รวมทั้งทำให้เด็กได้รู้ว่า ผลงานของเด็ก ๆ นั้นมีคุณค่าได้รับการดูแล ทะนุถนอม ผลงานของเด็ก ๆ ได้รับการจัดแสดงตามความต้องการของเด็กไม่ใช่ตามความต้องการของครูหรือผู้ปกครองเท่านั้น
ผู้ใหญ่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีของเด็ก ในการปฏิบัติตนและใช้ความคิดสร้างสรรค์ การสรรหากิจกรรมต่าง ๆ ให้เด็กได้สร้างสรรค์ เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง รวมทั้งควรจัดให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงเพิ่มขึ้น ในหลากหลายทางอย่างสม่ำเสมอ การพาเด็กทัศนศึกษา ได้พบปะศิลปิน ไปดูนิทรรศการภาพวาด ภาพถ่าย ไปพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ไปตลาด ไปแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ก็เป็น การกระตุ้นให้เด็กเกิดความรู้ การสังเคราะห์และความคิดสร้างสรรค์ได้ดี
เป็นการยอมรับในความแตกต่างระหว่างบุคคล และระหว่างกลุ่มถือเป็นความพยายามที่จะเข้าใจผู้อื่น และหาวิธีที่จะทำงานกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิผล ด้วยในโลกปัจจุบันและอนาคต การเชื่อมโยงระหว่างมนุษย์จะมีมากขึ้นทวีคูณและการไม่ยอมรับฟังและขาดความเคารพซึ่งกันและกัน ย่อมไม่ใช่ทางเลือกที่ดีของการอยู่ร่วมกัน
คนที่ขาดความเคารพ ไม่ควรค่าต่อการได้รับความเคารพจากคนอื่น อีกทั้งยังเป็นภัยต่อที่ทำงานและสาธารณชน
การยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นนั้นเป็นสิ่งจำเป็นและอาจเป็นสิ่งที่เราต้องการเหนือสิ่งอื่นใด อีกทั้ง ความเคารพต่อความแตกต่างแทนที่จะเพิกเฉย หรือขุ่นเคืองต่อความแตกต่าง หรือหาทางทำลายล้างความแตกต่างโดยใช้ทั้งความรักหรือความเกลียดมีความสำคัญต่อชีวิตในอนาคตอย่างมาก ทุกคนควรยอมรับความแตกต่างและเรียนรู้ที่จะอยู่กับมัน รวมถึงเห็นคุณค่าในกลุ่มอื่น ๆ ด้วย
จิตเคารพ ประกอบด้วยความรู้ความเข้าใจ และทัศนคติเกี่ยวกับวิธีการเชื่อมโยงตัวเรากับผู้อื่น การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น ด้วยการรู้เขารู้เรา การคิดบวกกับความแตกต่าง รวมทั้งการเห็นคุณค่าของความหลากหลายความคิด วัฒนธรรม และความแตกต่าง
คนที่เปี่ยมไปด้วยความเคารพอย่างแท้จริง จะใช้ประโยชน์จากความสงสัยในมนุษย์ เขาจะหลีกเลี่ยงความคิดแบบกลุ่ม หรือคิดแบบตาม ๆ กันอย่างดีที่สุด และเขาจะตำหนิเฉพาะคนที่สมควรจะถูกตำหนิ เขายังเปิดใจยอมรับว่า การตัดสินใจของเขาอาจจะผิดพลาดได้ และเขาก็พร้อมต่อความกระตือรือร้นที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่จะนำไปสู่ความเคารพผู้อื่น เราควรให้ความสำคัญกับความเคารพต่อคนที่มีภูมิหลัง และความเชื่อ ที่แตกต่างจากเราเป็นอันดับแรก และหวังว่าสิ่งเหล่านี้จะย้อนคืนกลับมาหาเราเป็นลำดับถัดไป
ระยะแรกของเด็กวัยอนุบาล เด็กจะทำทุกสิ่งทุกอย่างโดยถือตัวเองเป็นสำคัญก่อนดังนั้น การสอนให้เด็กรู้เขารู้เราและเคารพในความแตกต่างจะต้องค่อยเป็นค่อยไป โดยพยายามสอนให้เด็กรู้จักตัวเองให้มากก่อน เสริมสร้างความมั่นใจในตนเองให้แก่เด็กก่อน จากนั้นจึงค่อย ๆ ขยายสู่ความมีน้ำใจ แบ่งปันกับผู้อื่น เด็กต้องเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นและเล่นเป็นกลุ่มได้ ซึ่งจะช่วยให้เด็กได้พัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมไปสู่การรู้เขารู้เรา ผู้ใหญ่ควรหาหรือสร้างกิจกรรมให้เด็กทำเพื่อส่งเสริมให้เด็กมีจิตอาสา การจัดสิ่งแวดล้อมและกิจกรรมที่เด็กต้องแบ่งปัน ต้องรอคอย ต้องฟังผู้อื่น ต้องออกความเห็น และทำงานร่วมกัน จะช่วยให้เด็กเกิดความสามารถที่จะเข้าใจมุมมอง และรับรู้ความเห็นของผู้อื่นมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่ความเข้าใจและยอมรับผู้อื่นได้มากขึ้น การจัดห้องเรียนที่เอื้อต่อการทำกิจกรรมร่วมกัน และส่วนตัว ทำให้เด็ก ๆ เรียนรู้ทักษะด้านสังคมได้มากขึ้น และเป็นตามธรรมชาติ โดยเด็กจะประสบกับสถานการณ์จริงในห้องเรียน เด็กจะได้ร่วมกันตั้งกฎเกณฑ์ ที่นึกถึงและเคารพในความแตกต่างของผู้อื่น การรับรู้ถึงการช่วยเหลือผู้อื่น หรือสังคม หรือสิ่งแวดล้อม แล้วได้ปฏิบัติการช่วยเหลือจริง จะส่งผลต่อจิตเคารพได้มาก เช่นการบริจาคเพื่อมูลนิธิขาเทียม โดยการสะสมของที่เป็นอลูมิเนียมร่วมกับครบครัวแล้วนำมาบริจาค หรือการบริจาคกระดาษเพื่อโครงการ “กระดาษเพื่อต้นไม้” หรือนำสิ่งของ
ไม่ใช้แล้วบริจาคช่วยเด็กยากจน บริจาคช่วยคนที่บ้านเรือนถูกน้ำท่วม เป็นต้น โดยมีผู้ปกครองและครูเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็ก ๆ ด้วย
นอกจากนั้นนิทาน และเรื่องราวต่าง ๆ ก็สามารถทำให้เด็กรู้เขารู้เราได้มากขึ้น การใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กคิดหาเหตุผล และวิเคราะห์เรื่องราวก็ช่วยให้เด็กได้คิดถึงมุมมอง และจิตใจผู้อื่นได้ด้วย
กิจกรรมและการเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ก็สามารถเชื่อมโยงไปสู่การรู้เขารู้เราได้เสมอ เช่น การให้เด็กวาดภาพสิ่งของหนึ่งอย่างจากด้านต่าง ๆ กัน การเรียนรู้เกี่ยวกับความชอบไม่ชอบของสมาชิกในครอบครัว หรือห้องเรียน การเรียนรู้เกี่ยวกับบุคคลในอาชีพต่าง ๆ การพยายามคิดถึงความต้องการของผู้อื่น การลงคะแนนเสียงและ ทำกราฟแสดงให้เห็นความคิดเห็นที่แตกต่าง และการมีน้ำใจยอมเสียสละเพื่อส่วนรวม การเรียนรู้ที่จะตอบสนองความต้องการของผู้อื่น รวมถึงการแบ่งปัน เป็นต้น
เป็นคุณลักษณะเชิงนามธรรมของบทบาทในหน้าที่การงาน และการเป็นพลเมือง รวมทั้งการปฏิบัติอย่างเสมอต้นเสมอปลาย เป็นการรู้ถูกรู้ผิด มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม และปฏิบัติตนโดยยึดหลักคุณธรรมจริยธรรมที่ดี รวมทั้งช่วยเหลือผู้อื่นทั้งนี้สังคมมนุษย์ที่ขาดจริยธรรม จะทำให้โลกขาดคนทำงานที่ซื่อสัตย์ และพลเมืองที่มีความรับผิดชอบ
จิตจริยธรรมจะถูกปลูกฝังให้แก่เด็กได้ดีที่สุด เมื่อผู้ใหญ่รอบตัวเด็กแสดงให้เห็นเป็นประจำในชีวิตประจำวัน และอธิบายให้เด็ก ๆ ได้รับรู้เป็นระยะ ๆ นำเด็กเข้าไปมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตน เป็นนักเรียนที่ดี เป็นสมาชิกของชุมชนที่ดี เป็นพลเมืองดีตามลำดับ
ในระดับวัยอนุบาล การปลูกฝังจิตจริยธรรมให้เด็กตั้งแต่เล็กเป็นสิ่งสำคัญและจะสามารถทำได้ดีที่สุด เมื่อผู้ใหญ่เป็นแบบอย่างที่ดี และเด็กได้รับคำแนะนำจากบุคคลรอบตัวเมื่อมีประสบการณ์ตรงกับสิ่งที่ถูกสิ่งที่ผิด ได้รับฟังนิทานหรือเรื่องราวเกี่ยวกับผู้
เป็นพลเมืองดี และร่วมปฏิบัติตนในการเป็นพลเมืองดีด้วย ยกตัวอย่างเช่น การช่วยเหลือร่วมมือกันดูแลอุปกรณ์ ของเล่นในห้องเรียน การช่วยกันออกกฎระเบียบและปฏิบัติตนตามกฎระเบียบของห้องเรียน การเรียนรู้กฎระเบียบของประเพณีและสังคมใกล้ตัว การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตนเพื่อสังคม เช่น การประดิษฐ์ของส่งให้เด็กด้อยโอกาสหรือการบริจาคของเล่นเพื่อห้องสมุดของเล่น หรือการอัดเสียงทำนิทานเสียงส่งให้นักเรียนตาบอด เป็นต้น นอกจากนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพต่าง ๆ ในชุมชน ในแง่มุมของการปฏิบัติงานที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันจะทำให้เด็กเข้าใจถึงความสำคัญของชุมชุนมากขึ้น รวมถึงการเรียนรู้ถึงกฎระเบียบของชุมชน และการปฏิบัติตามกฎระเบียบก็ช่วยให้อยู่กันอย่างเป็นสุข เช่น การเรียนรู้เรื่องกฎจราจร และการปฏิบัติตามกฎ การเรียนรู้และการปฏิบัติตามกฎระเบียบของโรงเรียน เป็นต้น นอกจากนั้น การที่ผู้ใหญ่ร่วมดูรายการโทรทัศน์กับเด็กและชี้ให้เห็นสิ่งที่ดี ไม่ดี ถูกหรือผิด อย่างสม่ำเสมอ ก็สามารถปลูกฝังความคิดและพัฒนาสู่จิตจริยธรรมได้ดี จิตจริยธรรม และจิตเคารพ นั้นเชื่อมโยงกันและช่วยกระตุ้นให้เกิดผลของกันและกัน จึงควรคิดให้เด็ก ๆ ได้ทำกิจกรรมและพัฒนาเชื่อมโยงกันตลอดเวลา